Labels

1คุณสมบัตินักบิน 2สอบนักบิน ATPL Checklist DDM Divert Emirates ILS LOC LowVisibility Multitasking Priority STAR SingaporeAirlines Skill TakeOff Twitter a380 กพ กสพท การทำงาน การทำงานนักบิน การศึกษา การสอบ การเรียน ขึ้นเครื่องบิน ข่าว ข้อสอบ ข้อสอบความถนัด ความถนัด ความรู้การบิน ความรู้นักบิน จากเม็ดยาสู่ฟ้ากว้าง จิตวิทยา ทหาร ทหารบก ทันตแพทย์ นักบิน นักบินทหารบก นักบินอาชีพ ประสบการณ์ ปริญญาตรี ผู้โดยสาร ฝึกIQ พัฒนาตัวเอง ลับสมอง วัดIQ สนามบินดอนเมือง สมาคมนักบินไทย สอบนักบิน สัมภาษณ์นักบิน สายการบิน สายการบินต่างชาติ เครื่องบิน เชาว์ เตรียมสอบ เทคนิค เที่ยวบิน เภสัช เภสัชกร เรื่องเล่า เส้นทางชีวิต เส้นทางอาชีพนักบิน เหตุการณ์ แถลงการณ์ แนะนำเกม แพทย์ แอร์โฮสเตส

Wednesday, November 23, 2022

ทำไมการขับเครื่องบินโดยสาร ต้องใช้นักบิน 2คน?

 ✈️13ชั่วโมงที่ผ่านมาของเมื่อวาน (23 พ.ย.2565) ที่สนามบิน Chicago

First officer หรือ Co-pilot นำเครื่องบินกลับมาลงจอดหลัง take-off ขึ้นไปได้ไม่นานด้วยเหตุการหมดสติของกัปตัน
.



🔷ฉันถูกถามอยู่บ่อยครั้งว่า
- เป็น First officer หรือ Co-pilot หรือ นักบินผู้ช่วยแล้วได้จับพวงมาลัยขับเครื่องบินบ้างไหม?
- ทำไมต้องมีนักบิน 2 คน?
นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลค่ะ

🔶ในหลายครั้งเวลาที่ฉันอธิบายเรื่องรูปแบบการทำงาน ฉันจะเปรียบเทียบนักบินพาณิชย์*ประจำสายการบินเป็นเสมือนหมอเฉพาะทาง ที่จะต้องเป็นนักบินหรือเป็นหมอมาก่อน แล้วเรียนเพิ่มเติมต่อยอดอัพ Level ขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งกว่าจะได้เป็นนักบินเฉพาะเครื่อง (Type rating) ไปทำงานในตำแหน่งนักบินผู้ช่วยทางด้านขวา ก่อนจะเปลี่ยนไปนั่งตำแหน่งซ้ายในตำแหน่งกัปตันประจำสายการบิน *แต่ในบางงานของนักบินพาณิชย์สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องเรียนเฉพาะเครื่อง เหมือนกับที่หมอทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นหมอเฉพาะทาง 🔶อีกนัยยะหนึ่งคือในการทำงานคนที่เป็นนักบินผู้ช่วย หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า First-officer (FO.) ที่สายการบินนั้น จะต้องขับเครื่องบินได้เช่นกัน (ตามที่เคยแชร์ไปว่า ปกติของการทำงาน... กัปตันและ FO. จะผลัดกันขับเครื่องบินหรือเป็น Pilot fly (PF) จับพวงมาลัย เอ๊ย... คันบังคับที่เรียกว่า Joystick หรือ Yoke กันคนละครึ่ง #คนละครึ่ง ยังไง? + สมมติในการทำงานครั้งหนึ่งนักบินทั้งสองคนได้ตกลงกันว่า กัปตันจะเป็น PF ตอนบินไป แล้ว FO. เป็น PF ตอนบินกลับ + แล้วในครั้งที่ไม่ได้เป็น PF นักบินคนนั้นจะทำหน้าที่เป็น Pilot monitoring (PM) ที่มีหน้าที่คือ... - Monitor คอยตรวจสอบความถูกต้อง - ติดต่อสื่อสารกับ ATC - ทำเอกสารการบิน - และต้องพร้อมทำหน้าที่ PF ตลอดเวลาถ้า PF เกิดเป็นอะไรไป* หรือ PF ต้องการออกไปเข้าห้องน้ำ(ซึ่งแน่นอนว่าต้องอยู่นอก cockpit)) -> ทำให้ในการทำงานของเที่ยวบินพาณิชย์จะต้องมีนักบิน 2 คนเสมอ และนักบินทั้งสองคนจะต้องรับรู้ข้อมูลและรับรู้สถานการณ์ตรงกันตลอดเวลา ต้องรู้ทันกันว่า ณ ขณะนั้นนักบินอีกคนคิดยังไง? จะทำอะไร? ทำเพื่ออะไร? และอะไรจะเกิดขึ้นต่อ? -> ทำให้ CRM (crew resource management) และการพูด การสื่อสารระหว่างกัน เป็นอีกสิ่งสำคัญในการทำงานของนักบินพาณิชย์) และในบางครั้ง คืองี้ค่ะ... หญิงเคยถามพี่กัปตันที่เคยเป็นนักบินกองทัพที่ขับเครื่องบินคนเดียวมาก่อนย้ายมาสายการบิน พี่บางคนบอกว่าความรู้สึกแรก ๆ ที่เกิดขึ้นตอนเปลี่ยนมาขับเครื่องบินสองคนนั้น นอกจากการเรียนระบบเครื่องบินใหม่คือ "การทำงานสองคนไม่ได้ง่ายกว่าการทำงานคนเดียวเลย" มันต้องฝึกและใช้ทักษะอีกแบบ

-> ทำให้ ในการทำงานของนักบินผู้ช่วยไม่ใช่การทำตามคำสั่งหรือความต้องการของกัปตันตลอดเวลา FO. หรือ Co-pilot จะต้องกล้าถาม กล้า Challenge กล้าค้านกับกัปตัน(ถ้าสถานการณ์ไปถึง level นั้น) จะต้อง assertive อย่างไม่ aggressive -> และทำให้ในวงรอบของการเข้าฝึกทบทวนและสอบในเครื่องบินจำลอง (Full-flight simulator) ทุก ๆ 6 เดือน จะมีวงรอบของการทดสอบ *Pilot incapacitation ที่เกิด scenario ที่ใน cockpit เหลือนักบินเพียง 1 คน อยู่ด้วย
.
.
🔶จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามข่าว เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้... ในการทำงานของนักบินพาณิชย์ต้องบินกัน 2 คน ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วมีนักบินเพียงคนเดียวก็สามารถขับเครื่องบินหรือทำงานทั้งหมดได้

และผู้โดยสารสามารถไว้วางใจนักบินผู้ช่วย
และไว้วางใจระบบความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศได้
.
.
ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ 🖤

ที่มาของภาพข่าว https://simpleflying.com/envoy-air-pilot-incapacitated-midflight-passed-away/