Labels

1คุณสมบัตินักบิน 2สอบนักบิน a380 ATPL Checklist DDM Divert Emirates ILS LOC LowVisibility Multitasking Priority SingaporeAirlines Skill STAR TakeOff Twitter กพ กสพท การทำงาน การทำงานนักบิน การเรียน การศึกษา การสอบ ข้อสอบ ข้อสอบความถนัด ข่าว ขึ้นเครื่องบิน ความถนัด ความรู้การบิน ความรู้นักบิน เครื่องบิน จากเม็ดยาสู่ฟ้ากว้าง จิตวิทยา เชาว์ เตรียมสอบ แถลงการณ์ ทหาร ทหารบก ทันตแพทย์ เทคนิค เที่ยวบิน นักบิน นักบินทหารบก นักบินอาชีพ แนะนำเกม ประสบการณ์ ปริญญาตรี ผู้โดยสาร ฝึกIQ พัฒนาตัวเอง แพทย์ เภสัช เภสัชกร เรื่องเล่า ลับสมอง วัดIQ สนามบินดอนเมือง สมาคมนักบินไทย สอบนักบิน สัมภาษณ์นักบิน สายการบิน สายการบินต่างชาติ เส้นทางชีวิต เส้นทางอาชีพนักบิน เหตุการณ์ แอร์โฮสเตส

Sunday, October 16, 2022

เหตุผลที่แท้จริงที่ช่วงนี้ชาวกรุงเทพฯ "เห็น" เครื่องบินบินต่ำ

เหตุผลที่ช่วงนี้ ชาวกรุงเทพฯเห็นเครื่องบินบินต่ำ📌
- มีคำถามมาว่า ช่วงนี้เครื่องบินบินต่ำเพราะเมฆต่ำใช่ไหม?
- คำตอบคือ "ไม่ใช่" ❌เรื่องความสูงยังคงสูงเหมือนเดิม, สิ่งที่เปลี่ยนมีแค่ทิศทาง หรือพื้นที่ที่เครื่องบินโลดแล่น (คล้ายหาดไม้ขาว ณ สนามบินภูเก็ต)ก็เท่านั้น!

คือมันเป็นอย่างนี้ค่ะ... ✈

.
🔸🔹เหตุผลที่ช่วงนี้ที่ชาวกรุงเทพฯหลายคน "เห็น" เครื่องบินชัดเจนกว่าปกติ เพราะทิศทางที่เครื่องบินทำการ "Take-off/Landing" ได้เปลี่ยนมาใช้งานที่รันเวย์อีกด้านหนึ่ง (Runway03)

ซึ่งเสมือนการ Take-off/Landing ของเครื่องบินที่สนามบินภูเก็ตทางฝั่งหาดไม้ขาว(Runway09) แล้วทำให้ผู้ที่อยู่บริเวณหาดไม้ขาวนั้นสามารถ "เห็น" เครื่องบินได้ชัดกว่าตอนใช้รันเวย์อีกด้านหนึ่ง(Runway27) ไม่ได้เป็นเพราะเครื่องบินบินด้วยความสูงที่ต่ำกว่าปกติแต่ประการใด

🔺ปกติ(โดยส่วนใหญ่)ตอนที่สนามบินดอนเมืองทำการขึ้นลงด้วยรันเวย์ฝั่งทิศใต้ (RWY21)
เวลา Take-off เครื่องจะรีบไต่ระดับเพดานบินขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ที่อยู่บริเวณทิศใต้ของสนามบินซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เมืองและชุมชน เช่น เกษตร, รามอินทรา, จตุจักร, วัฒนา, คลองเตย, สาธร, จอมทอง, ตลิ่งชัน เป็นต้น "เห็น" เครื่องบินในขณะที่กำลัง Take-off ซึ่งเพิ่มความสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนมองเห็นเครื่องบินมีขนาดเล็ก

เวลาทำการ Landing ที่รันเวย์21 (ดังตัวอย่างในรูปที่ 1 ด้านล่าง**)
เครื่องบินจะลดความสูงลงมาช่วงบริเวณ อยุธยา, ปทุมธานี, รังสิต, ... ซึ่งมีความเป็นชุมชนน้อยกว่าในกรุงเทพฯ และพี่ๆน้องๆที่อยู่ฝั่งนี้คุ้นเคยกับการเห็นเครื่องบินบินต่ำขณะทำการ Landing อยู่แล้ว -> ตอนใช้รันเวย์ด้านนี้ไม่ได้บินผ่านกรุงเทพฯในโซน เกษตร, รามอินทรา, ...

🔺พอสนามบินเปลี่ยนมาใช้รันเวย์ฝั่งทิศเหนือ (RWY03) พื้นที่เมืองและชุมชนส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ เช่น เกษตร, รามอินทรา, ... ดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะเปลี่ยนมา "เห็น" เครื่องบินตอน Landing ซึ่งค่อยๆลดความสูงลงและรักษาเพดานบินต่ำกว่าตอน Take-off ทำให้มีโอกาสเห็นเครื่องบินที่ชัดเจนกว่าตอนใช้รันเวย์21 (ดังตัวอย่างในรูปที่ 1 ด้านบน**)

**รูปแบบการ Landing ของเครื่องบินที่ลงจอดสนามบินดอนเมือง จะเป็นแบบที่คล้ายกับด้านบนหรือด้านล่างอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คล้ายกับกรณีที่หาดไม้ขาวที่นักท่องเที่ยวบริเวณหาดไม้ขาวเห็นเครื่องบินได้ชัดตอนสนามบินภูเก็ตใช้รันเวย์ฝั่งทิศตะวันออก (Runway09) ในการขึ้น/ลง แต่แทบจะไม่เห็นเครื่องบินเวลาที่สนามบินภูเก็ตใช้รันเวย์ฝั่งทิศตะวันตก (Runway27) ในการ Take-off/Landing

🔸#สรุปคือ
✅ทุกอย่างมันคือการ "เห็น" เมื่อเทียบกับตำแหน่งที่ผู้รับชมยืนอยู่
❌ไม่ได้เป็นเพราะเครื่องบินต้องลดเพดานบินลงเพราะเมฆต่ำแต่ประการใด(ในการบินจริงไม่มีการทำอย่างนั้น และจะกล่าวถึงเพิ่มเติมในท้ายบทความ)

🔸🔹และจริงๆ Minimum sector altitude หรือ "ความสูงขั้นต่ำในระยะประชิดสนามบิน" ของรันเวย์ฝั่งทิศเหนือ (Runway03) ที่นานๆครั้งถึงจะใช้ฝั่งนี้ (เมื่อลมเปลี่ยนทิศ+ความแรงเกินลิมิตที่จะทำการบินขึ้นลงด้วยรันเวย์ฝั่งทิศใต้ (Runway21) ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ) และเปลี่ยนมาใช้ในช่วงนี้นั้น... มีความสูงขั้นต่ำ (MSA) มากกว่ารันเวย์อีกด้านเสียอีก❗️ (รูปประกอบที่ 2)


.
.
ในส่วนนี้นอกจากการตอบคำถามข้างต้นที่สอบถามเข้ามา ก็หวังว่าช่วยให้ผู้ที่กังวลในความสูงที่ "เห็น" ได้ทราบว่า ความเป็นจริงมันเป็นเช่นไรได้คลายกังวลว่า

"ทุกอย่างยังคงดำเนินไปตามปกติ ไม่ได้มีอะไรผิดปกติเลย"✈

✈สำหรับผู้ที่อยากรู้เหตุผลที่แท้จริงที่ช่วงนี้ "เห็น" เครื่องบินบินต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ คำตอบจบแล้วนะคะ

สำหรับเนื้อหาต่อไปจะเป็นการแชร์เพิ่มเติมในเนื้อหาที่มากขึ้นเพื่อนำไปสู่การอธิบายว่า... ทำไมความสูงของเมฆไม่ส่งผลต่อการบังคับความสูงของเครื่องบิน?
.
.
.
เรื่องความสูงในการบิน
🔸มีข้อกำหนดเรื่องความสูงทั้งตอน Take-off (SID : Standard Instrument Departure routes) และตอน Landing (STAR : Standard Terminal Approach Routes) ที่กำหนดว่าในแต่ละจุดห้ามบินต่ำกว่าความสูงใด

และในขณะนั้นเป็นการทำการบินแบบใช้เครื่องวัด (IFR : Instrument Flight Rules) คือ... "นักบินไม่ได้ทำการบินด้วยการมองออกไปข้างนอก แต่เป็นการมองจากเครื่องวัดประกอบการบิน" ❌ไม่ว่าข้างนอกจะมีเมฆสูงต่ำแค่ไหนก็ไม่มีผลให้ต้องลดความสูงลงมา❌... ในทางตรงกันข้าม ในทางการบินกลับมีความสูงขั้นต่ำกำหนดไว้ไม่ให้บินต่ำกว่าที่กำหนดในทุกๆจุดเพื่อความปลอดภัย (ดังรูปที่2)
.
.
🔸ช่วงเวลาที่นักบินจะทำการบินด้วยการมองออกไปข้างนอก VFR (Visual Flight Rules) หรือ Visual contact สำหรับเครื่องบินโดยสารที่ปกติใช้การบินแบบ IFR* อยู่ในช่วงความสูงต่ำกว่า 200ฟุตเหนือพื้นดิน หรือมากกว่านี้ขึ้นกับสถานการณ์/การตัดสินใจของนักบิน

*ถ้าเป็นเครื่องบินลำเล็ก เช่น เครื่องบินฝึก ที่ใช้กฎการบินแบบ VFR
แบบนี้ล่ะที่นักบินจะทำการบินแบบมองออกไปด้านนอกเป็นหลัก ซึ่งในกรณีนี้...ถ้าอากาศมีทัศนวิสัยต่ำกว่าที่กำหนดหรือองค์ประกอบอื่นใดไม่เข้ากฎ VFR ก็จะไม่สามารถทำการบินได้
.
.
ลิ้งก์บทความสำรอง fb.com/yingaamashare