Labels

1คุณสมบัตินักบิน 2สอบนักบิน a380 ATPL Checklist DDM Divert Emirates ILS LOC LowVisibility Multitasking Priority SingaporeAirlines Skill STAR TakeOff Twitter กพ กสพท การทำงาน การทำงานนักบิน การเรียน การศึกษา การสอบ ข้อสอบ ข้อสอบความถนัด ข่าว ขึ้นเครื่องบิน ความถนัด ความรู้การบิน ความรู้นักบิน เครื่องบิน จากเม็ดยาสู่ฟ้ากว้าง จิตวิทยา เชาว์ เตรียมสอบ แถลงการณ์ ทหาร ทหารบก ทันตแพทย์ เทคนิค เที่ยวบิน นักบิน นักบินทหารบก นักบินอาชีพ แนะนำเกม ประสบการณ์ ปริญญาตรี ผู้โดยสาร ฝึกIQ พัฒนาตัวเอง แพทย์ เภสัช เภสัชกร เรื่องเล่า ลับสมอง วัดIQ สนามบินดอนเมือง สมาคมนักบินไทย สอบนักบิน สัมภาษณ์นักบิน สายการบิน สายการบินต่างชาติ เส้นทางชีวิต เส้นทางอาชีพนักบิน เหตุการณ์ แอร์โฮสเตส

Friday, October 27, 2023

ถ้าเป็นนักบินไม่ได้... จะเป็นอะไร ที่บ้านรวยไหม? | คำถามนี้มีอะไร? #1

 คำถามนี้มีอะไร #1 ถ้าเป็นนักบินไม่ได้... จะเป็นอะไร ที่บ้านรวยไหม?

สำหรับผู้มาอ่านบทความนี้เพราะอยากเป็นนักบิน 

ก่อนทำการอ่านต่อไปอันดับแรกขอแนะนำให้ "ทุกคน" ...

  1. เตรียมสมุด 1 เล่มไว้สำหรับการจด 'บันทึกการเดินทาง' ในการเตรียมสอบของตัวเอง
  2. เขียนคำถาม #1 ถ้าไม่เป็นนักบิน... จะทำงานอะไร ที่บ้านรวยไหม? นี้ลงไป
  3. เขียนความรู้สึก(ทั้งหมด)ที่เกิดขึ้นตอนเห็นคำถามนี้เป็นครั้งแรก  เช่น
    1. ไม่เข้าใจว่าถามอะไรเนี่ย
    2. บ้าไปแล้ว
    3. ถ้าไม่รวยเป็นนักบินไม่ได้เหรอ
    4. ไม่มีทาง ฉันต้องเป็นนักบินเท่านั้น
  4. เขียนคำตอบของคำถามที่นึกขึ้นได้ลงไป
  5. ลง วัน/เดือน/ปี เป็นบันทึกการเดินทางเอาไว้ดูความคิดและความรู้สึกของตัวเองว่ามันเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนไปเมื่อเวลาและประสบการณ์ของตัวเองเปลี่ยนไป
เพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกคน ถ้าใครเชื่อฉัน... ฉันขอแนะนำให้ทุกคนทำตามขั้นตอนที่แนะนำไป แต่ถ้าใครไม่ทำ... ก็ไม่เป็นไร ในโลกใบนี้มันไม่มีอะไรดีกับทุกคน

Thursday, September 7, 2023

อาชีพนักบินกับสายตา I version. UPDATE I จบครบที่หลายคนชอบถาม

 เรื่อง #อาชีพนักบินกับสายตา

scope ข้อมูล
บทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องสายตากับอาชีพนักบินที่...
🔷เจาะจงส่วนงานนักบินสายการบิน โดยเฉพาะการสอบเข้าแบบนักบินทุนสายการบิน
📌ไม่ได้กล่าวถึงนักบินทั้งหมด
.
ทำความเข้าใจกันก่อน
🔷#ก่อนการฝึกบิน หรือเรียนหลักสูตรนักบินต่างๆ เพื่อขอใบอนุญาต/licence นักบิน
+ ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจร่างกาย สอบ IQ และจิตวิทยาการบินที่รวมเรียกว่า Medical class ... ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก "ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง มาตรฐานในการออกใบสำคัญแพทย์แต่ละชั้น" ฉบับล่าสุดประกาศเมื่อ พ.ศ. 2561 โดยที่
a-- นักบินพาณิชย์ ใช้เกณฑ์ Medical class 1📌
b-- *นักบินส่วนตัว ใช้เกณฑ์ Medical class 2
.
👉เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารถึงคำว่า
- "นักบินพาณิชย์"
- "นักบินส่วนตัว"
-- "เครื่องบินพาณิชย์"
-- "เครื่องบินส่วนตัว"
ซึ่งที่ผ่านมามีหลายคนสับสนใน 4 ส่วนนี้ (บางคนก็ติหญิงด้วยแหละว่าหญิงให้ข้อมูลที่ทำให้น้องๆ เข้าใจผิดได้)
b.1--- *นักบินส่วนตัว เหมือนผู้ถือใบอนุญาตขับขี่รถส่วนตัว(ขับขี่ให้กับตัวเอง, ด้วยเครื่องบินที่จำกัด เช่น เครื่องบินเล็กขนาดไม่เกิน... kg(ที่ใส่ จุดจุดจุด เพราะหญิงจำตัวเลยไม่ได้ ใครสนใจข้อมูลสามารถใช้คำค้น aircraft limitations for a private pilot), ต้องขับขี่ตามศักย์การบินที่มี เช่น หากมีแค่ Private Pilot Licence (PPL) ก็ต้องบินในสภาพอากาศดีหรือฟ้าเปิดในแบบที่เรียกว่า Visual Flight Rules - VFR ซึ่งเป็นการบินโดยมองพื้นดิน/พื้นน้ำเป็นจุดสังเกต) ไม่ใช่ขับเครื่องบินส่วนตัวลำใหญ่ที่ใช้กฎการบินอีกแบบ เป็นต้น
a.1--- การขับเครื่องบินส่วนตัว(ให้คนอื่นนั่ง แบบได้เงินค่าจ้าง) คล้ายการขับรถขนส่งสาธารณะที่ต้องใช้ใบอนุญาตอีกแบบ (และผ่านการฝึกแตกต่างกัน) กรณีนี้ต้องใช้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot Licence(CPL) เป็นต้นไป) ซึ่งการเป็นนักบินพาณิชย์ในกรณีนี้ใช้เกณฑ์ตรวจของ #MedicalClass1
!--- ทั้งนี้ ประเด็นเรื่อง license เป็นกล่าวถึง scope ของนักบินส่วนพลเรือนเท่านั้น ไม่นับรวมนักบินกองทัพบก/เรือ/อากาศ/ตำรวจ ที่เป็นการทำงานในลักษณะที่ขับเครื่องบินได้เงินเหมือนกันแต่บางลักษณะงานไม่ได้ใช้ใบอนุญาต CPL
!--- การทำงานของนักบินแต่ละครั้งต้องมีเอกสารสำคัญประจำตัวหลายฉบับ ก) ใบอนุญาตนักบิน (PPL/ CPL/ ATPL) กับ ข) ใบสำคัญแพทย์ (Medical Certificate) เป็นเพียง 2 ในเอกสารจำนวนหลายฉบับที่จะต้องมีเท่านั้น
.
📌step เรื่องเอกสารในเส้นทางนักบินจึงเริ่มต้นที่
1. Medical class ... 🔶
2. Licence (PPL / CPL / ATPL)
3. อื่นๆ
.
🔶ว่าด้วย ใบสำคัญแพทย์
- เกณฑ์ Medical class 1 และ class 2 แตกต่างกัน
- หญิงอยู่ในส่วนพาณิชย์ไม่รู้ข้อมูลของ class 2 จึงต้อง scope ข้อมูลให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อน
.
👉ต่อมา... เจาะลึกไปยังเกณฑ์ Medical class 1
+ นักบินพาณิชย์ มีหลายภาคส่วน
- บางที่ใช้เกณฑ์กลางของ Medical class 1
- บางที่ใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่า Medical class 1
-- ที่ผ่านมาการสอบนักบินทุนสายการบินใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่า Medical class 1
---For your information -> เกณฑ์สายตาใน "มาตรฐานการออกใบสำคัญแพทย์แต่ละชั้น" version ปัจจุบัน พ.ศ. 2561 มีการปรับเปลี่ยนจากอดีต หญิงสอบ SP และเป็นนักบินก่อนปี 2561
- หญิงอยู่ในส่วนพาณิชย์ที่เข้าสายการบินแบบนี้ จึงต้อง scope ข้อมูลให้ชัดเจน(อีกเช่นเคย)เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า #หญิงกล่าวถึงส่วนนี้เท่านั้น น๊าาา
.
🔶เจาะลึกคุณสมบัติ(เกี่ยวกับสายตา)ในการสอบนักบินทุนสายการบิน(แบบ a))
(สายการบินรับนักบิน 3 แบบคร่าว ๆ
a) student pilot บุคคลทั่วไป
b) qualified pilot (200) บุคคลที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เป็นต้นไปที่ยังไม่มี type rating เฉพาะเครื่อง
c) qualified pilot + type rating)

-----Disclaimer -----
#ในอดีต การสอบ a) นักบินทุนสายการบิน ใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าเกณฑ์กลาง สิ่งที่หญิงจะกล่าวถึงจึงอ้างอิงข้อมูลที่ผ่านมา ไม่ได้การันตีถึงอนาคต โปรดใช้จักรยานในการปั่นเพื่อสุขภาพ เอ้ย! ก็วิจารณญาณนั่นแหละ 🥰
👉+ #ที่ผ่านมา สายการบินที่เปิดสอบ a) นักบินทุนสายการบิน (โดยเฉพาะในรุ่นที่หญิงสอบ) มีไม่กี่สายการบิน
- บางสายการบินที่เปิดสอบ SP ได้แจ้งข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า ผู้สมัครจะต้อง...
👉-- สายตาสั้น/ยาวไม่เกิน 300 หรือ ไม่เกิน +/-3.00 ไดออปเตอร์ -> ใส่แว่นได้
👉-- ถ้าใครเคยทำอะไรเกี่ยวกับตา (ผ่าตัด/เลเซอร์) ค่าสายตาก่อนการผ่าตัดก็ห้ามเกิน +/- 3.00 ไดออปเตอร์ เหมือนกัน และต้องทำอะไรเหล่านั้นก่อนการสอบประมาณ 1 ปี เนื่องจาก...
👉--- #อาชีพนักบินซีเรียสเรื่องผ่าตัด -> อันนี้เป็นเกณฑ์กลางของทาง Medical class 1 ว่าหากใครไปทำอะไรมา(ต่อให้เป็นนักบินแล้ว)ก็จะต้องหยุดบินระยะเวลาหนึ่ง (ดูรายละเอียดส่วนนี้เพิ่มเติมได้ในรูปที่ 4) <- ซึ่งเกณฑ์กลางนี้เป็นสิ่งที่ตึงสุดแล้ว ต่อรองไม่ได้
👉-- กรณีสายตาก่อนทำเกิน 300 <- ถ้าใครจะทำก็ต้อง "ลุ้น" เอาเอง
- อย่างที่บอกว่า "มีแค่บางสายการบินที่แจ้งข้อมูลอย่างเป็นทางการว่าผู้สมัครต้องสายตาไม่เกิน +/- 3.00 ไดออปเตอร์" ...แต่ละสายการบินมีข้อกำหนดแตกต่างกันได้
👉-- การกำหนดคุณสมบัติ "สำหรับผู้เข้าสอบ" ก็สามารถแตกต่างจาก "ผู้ที่เป็นนักบินแล้วได้" การที่มีข้อกำหนดว่า "ตอนสมัครสอบสายตา +/- ไม่เกิน 3.00 ไดออปเตอร์" ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นตลอดไป การกลับไปตรวจ Medical class 1 ในครั้งต่อไปตามวงรอบโดยส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์กลางที่ประกาศในราชกิจจาฯ
.
🔶ตอบคำถามส่วนตัว #ทำไมหญิงใส่แว่น #ทำไมหญิงไม่ทำLasik_PRK_ICL
👉หญิงเพิ่งรู้จักการสอบนักบินตอนอายุ 27ปี
- ตอนนั้นมีสายการบินที่เปิดสอบ a) นักบินทุนสายการบิน ซึ่งรับผู้หญิงจำนวน 2 สายการบิน ซึ่งทั้งสองที่กำหนดคุณสมบัติเรื่องอายุไว้ที่ ไม่เกิน 28ปี
-- ถ้าหญิงทำอะไรกับสายตาตอนนั้น ก็จะหมดสิทธิ์สอบ a) SP กับทางสายการบินไปเลย หญิงจึงเลือกที่จะใส่แว่นต่อไป
-- ส่วนช่วงเวลาก่อนหน้านั้นมันก็ไม่มีอะไรมากค่ะ สั้นๆเลย หญิงไม่มีตังค์ไปทำอะไรกับตา 😂
.
🔶ผู้สมัครสอบ a) SP กับทางสายการบิน จะต้องตรวจตาเมื่อไหร่?
👉การสอบ SP ของแต่ละสายการบินจะมีหลายขั้นตอน (ที่แตกต่างกัน) โดยส่วนใหญ่จะมี
1) สอบข้อเขียน เพื่อคัดผู้สมัครจำนวนมาก (ปกติจะมีหลักพันคน) ให้เหลือหลักสิบหรือร้อยคน
2) สอบกับผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกัปตัน เพื่อคัดทั้งความสามารถและทัศนคติที่ตรงกับความต้องการของสายการบิน ให้เหลือหลักสิบคน
3) สอบพิเศษ เช่น ทดสอบความสามารถในการทำงานเป็นทีม / personality ให้เหลือหลักสิบคนอีกเช่นกัน (แต่ละครั้งที่เปิดสอบ สายการบินมีจำนวนคนที่ต้องการแตกต่างกัน)
-> (ขั้นตอนที่ 2) กับ 3) อาจจะสลับกันได้ และในบางขั้นตอนอาจจะมีการสอบมากกว่า 1 ครั้ง หรือมากกว่า 1 วัน)
📌-> ผู้ที่ผ่านการสอบ 3 ด่านแรกถึงจะได้ผ่านไปตรวจ 4) Medical class 1
--> และการตรวจทั้ง 3 อย่างดังที่กล่าวไปในตอนแรกคือ 4.1) ตรวจร่างกาย(รวมทั้งสายตา) 4.2) สอบ IQ และ 4.3) สอบจิตวิทยาการบิน จะเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้
-> และอย่างที่บอกค่ะ การสอบเข้าสายการบินแบบ a) SP นั้นแต่ละสายการบินสามารถกำหนดอะไรหลายๆ อย่างเพิ่มเติมขึ้นมาได้ บางสายการบินจึงมีการสอบ 4.4) ยิงเครื่องบิน* ขึ้นมาด้วย
+ การสอบ *4.4) ยิงเครื่องบิน เกิดขึ้นที่เวชศาสตร์การบิน รูปแบบของมันคือจะเป็นเกมที่ให้เราบังคับเครื่องบิน (หาแพทเทิร์นเอาเอง เช่น ถ้าเราขยับคันโยกซ้าย เครื่องบินจะไปทางขวา, ถ้าเราขยับคันโยกไปด้านบน เครื่องบินจะไปทางซ้าย, ...) ไปยิงเครื่องบินลำอื่นให้ได้ พอเรายิงได้จะมีคำถามโผล่ขึ้นมาให้เราตอบภายในเวลาประมาณ 10-15วินาที ตัวอย่างข้อสอบ เช่น ถ้าสมทรงมีน้องชื่อสมศรี สมศรีมีพ่อชื่อสมชาติ สมชาติมีหลานชื่อสมจิตร สมจิตรมีปู่ชื่อสมสุข สมทรงมีพี่น้องกี่คน?
📌โดยส่วนตัวเลยจึงมักแนะนำว่า "ใครที่มีเรื่องไม่แน่ใจเรื่องสายตา... ถ้าไม่ติดเรื่องอะไรก็ลองลงสนามสอบไปก่อน" ลงสนามจริงแล้วทำให้เต็มที่ เรื่องผลลัพธ์ค่อยไปดูหน้างานว่ามันจะเป็นยังไร หรืออย่างน้อยๆ ก็ไปสอบให้รู้ว่าตัวเองจะไปได้แค่ไหน หรือไปสอบให้ได้เห็น ได้เข้าใจอะไรในเส้นทางการสอบนักบินมากขึ้นก็ได้
.
🔶สำหรับการวางแผน #ในอนาคต
ไม่มีใครรู้ว่า "การกำหนดคุณสมบัติการสอบนักบินทุนสายการบินในอนาคต(ถ้ามี)จะเป็นอย่างไร"
👉 สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนเรื่อง "สายตา" โดยคำนึงถึงโอกาสในการสอบนักบิน SP ด้วย โดยส่วนตัวหญิงแล้ว...
- ถ้าไม่จำเป็น ไม่แนะนำให้ทำอะไรกับสายตาให้เกิดบาดแผล
-- เพราะอย่างที่บอก อาชีพนักบินซีเรียสเรื่องการผ่าตัด (หลายสายการบิน แม้แต่การรับสมัครนักบินแบบ c) ที่มี type rating หรือมีประสบการณ์ในการขับเครื่องบินสายการบินมาแล้ว ก็ต้องการการ declare เรื่องการผ่าตัด) เพราะสิ่งแวดล้อมในการทำงานบนฟ้าแตกต่างจากภาคพื้นดิน
- ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะทำ เลือกวิธีที่ทิ้งร่องรอยน้อยที่สุด มี side effect หรือ adverse effect น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ concern มากดังรายละเอียดในรูปที่ 3
- อนึ่ง สุขภาพตาของแต่ละคนเป็นเรื่องปัจเจกที่แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล
.
.
🔷ทำให้ทุกครั้งที่พูดเรื่องสายตา หญิงจะปิดท้ายเสมอว่า
+ #คำว่าสายตาดีไม่ได้ขึ้นกับการใส่หรือไม่ใส่แว่น มันขึ้นกับการให้คำนิยามและ perception ของแต่ละคน
- หลายกรณี คนใส่แว่นอาจจะสายตาดีกว่าคนไม่ใส่แว่นก็ได้
-- ในการตรวจ Medical class 1 หรือตรวจสุขภาพประจำปีของนักบินนั้น station ตรวจตาเป็นจุดที่ใช้เวลานานที่สุด ใช้เครื่องมือมากที่สุด (หากไม่ลืมหญิงจะนำรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะต้องตรวจหัวข้ออะไรบ้างมาแปะในคอมเม้นต์)
--- จะมีการตรวจสายตาละเอียดยิบที่มากกว่าสายตาสั้น/ยาว/เอียงหรือไม่
-- ใครสนใจในอาชีพนักบินแล้วตอนนี้สายตาไม่ได้สั้น/ยาว/เอียง ใช่ว่าจะวางใจได้นะว่าตนจะผ่านการตรวจในส่วนนี้ได้ลอยลำกว่าคนที่ใส่แว่น
.
.
ดูแลสุขกาย/ใจ และดวงตากันด้วยน๊าา
ด้วยรัก
❤️

Sunday, May 7, 2023

ตีแผ่ Multitasking + Do&Don't + ฝึกยังไง? | Yingaaมาคุย #การบิน #podcast

 FAQ - เกี่ยวกับ Multitasking ✈️



. 🔵- Do ; นักบินต้องแยกประสาทสัมผัสทำหลายงานพร้อมกันจริง แต่หัวใจสำคัญคือ prioritization . 🔴- Don't ; multitasking มีไว้ใช้ output หรือทำงานในขณะที่จำเป็น อย่าเรียนรู้หรือ input ข้อมูลด้วยการอ่านหนังสือไปด้วย ทำอย่างอื่นไปด้วย ในการเรียนรู้หรือทำงานที่ไม่จำเป็นต้องทำหลายอย่างพร้อมกันการโฟกัสจะให้ผลดีกว่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเรียนเพราะสมองคนเรามีขีดจำกัด ถ้าเราทำหลายอย่างตอนเรียน... ในตอนทำเราจะรู้สึกว่าเรารู้เรื่อง เราเจ๋ง แต่พอเวลาผ่านไปการจัดการของสมิงจะทำให้สิ่งที่เรา input เข้าไปหายหรือไม่เกิดการประมวลผลเชื่อมโยงแล้วบันทึกเอาไว้เพื่อใช้ในอนาคต) และ prioritization ก็คือการจัดลำดับความสำคัญของการโฟกัส แล้วสลับไปมาอย่างรวดเร็วทำให้หูตามือปากหัว(กระบวนการ process)ต้องไว และ . 🟣- ตัวอย่างเว็บสำหรับฝึกฝน ลิ้งก์เกมฝึกทักษะ Multitasking มีหลายเกมให้เลือกฝึก http://multitaskgames.com/ . . ข้อมูลนี้ 6นาทีจ้า ด้วยรัก❤️

- เรื่องราวการแพทย์/การบิน โดย เภสัช,นักบิน-YingaaMashare Fanpage --------------------- FB.com/YingaaMashare กลุ่มเตรียมสอบนักบิน ---- bit.ly/Pilot101 TikTok ------------------------- tiktok.com/@YingaaMashare Website -----------------------
http://www.airlinepilotstory.com/ Email --------------------------- YingaaMashare@gmail.com Clubhouse ------------------ @YingaaMashare IG -------------------------------- instagram.com/yingaa_misspilot Line ----------------------------- https://lin.ee/BybXAku #podcast #misspilottalk #เรื่องเล่าข่าวข้น

Thursday, December 8, 2022

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าฟ้าผ่าเครื่องบิน? | ชิ้นส่วนยื่น ๆ ตรงปีก?

 จะเกิดอะไรขึ้นถ้าฟ้าผ่าเครื่องบิน? | ชิ้นส่วนตรงปีก? | Yingaaมาแชร์


มีคำถามมาว่า จะเกิดอะไรขึ้นทันทีที่ฟ้าผ่าเครื่องบิน คำตอบก็คือ... ไม่เป็นอะไร คือในการออกแบบเครื่องบินเนี่ย เค้าได้ใช้วัสดุในแต่ละส่วนของเครื่องบินที่แตกต่างกันไป(ดังที่แสดงในวีดีโอ) ซึ่งแน่นอนว่าการใช้วัสดุที่แตกต่างกันมันก็มีการจัดการกับกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าที่เข้ามาไม่เหมือนกัน และออกแบบทั้งทางเข้าและทางออกของกระแสไฟฟ้าไว้เรียบร้อย


สุดท้ายเลยถ้าใครเคยสงสัยว่าเสาอากาศหรือท่อที่ติดปลายปีกเครื่องบิน(ดังรูปที่แสดงในวีดีโอ)คืออะไร นั่นล่ะค่ะ Static discharges ที่มีไว้จัดการกับฟ้าผ่า . . . เรื่องราวการแพทย์/การบิน โดย เภสัช,นักบิน-YingaaMashare Fanpage : FB.com/YingaaMashare TikTok : tiktok.com/@YingaaMashare สำรอง tiktok.com/@MissPilotTalk Website :
http://www.airlinepilotstory.com/ Email : YingaaMashare@gmail.com สำรอง misspilottalk@gmail.com Clubhouse : @YingaaMashare IG : instagram.com/yingaa_misspilot Line : https://lin.ee/BybXAku จะเกิดอะไรขึ้นถ้าฟ้าผ่าเครื่องบิน? | ชิ้นส่วนตรงปีก? | Yingaaมาแชร์

Friday, November 25, 2022

ทำไมเครื่องบินต้องมีหน้ากากออกซิเจน? มันจะตกลงมาเมื่อไหร่? เพราะอะไร?

ใครชอบดูซีรีส์/หนัง/ละคร ที่มีฉากหน้ากากออกซิเจนบนเครื่องบินปล่อยลงมาแล้วสงสัยว่า... ในความเป็นจริงมันจะเกิดขึ้นตอนไหน? ในสถานการณ์ยังไงล่ะก็... ✈ ข่าวการ Divert ไปลงจอดที่ Frankfurt ของ Singapore airlines เมื่อวันพฤหัสบดี ( 24 พ.ย. 2565 ) ที่ผ่านมาช่วยอธิบายได้ในระดับหนึ่งเลยค่ะ (และข่าวนี้ยังแถมเรื่องทิ้งน้ำมัน - fuel dumping / fuel jettison ไปในตัวด้วย)


.
🔶เนื่องจากข่าวนี้มี 2เรื่องหลัก ๆ ที่หลายคนสนใจ
1. หน้ากากออกซิเจนที่เกี่ยวข้องกับการปรับความดันในห้องโดยสาร🔶 ( cabin pressurisation ที่ขีดเส้นใต้ในรูป 2 )
กับ 2. การทิ้งน้ำมัน🔷 (ดังที่ช่างภาพที่ภาคพื้นถ่ายไว้ได้ในรูป 4) หลังนักบินตัดสินใจ Divert ไปลงจอดหลังบินขึ้นมาจาก London แล้วประมาณ 30นาที

และเนื่องจาก "เรื่องทิ้งน้ำมัน" น่าจะใช้เวลาสั้นกว่า หญิงจึงขอหยิบเรื่องนี้มากล่าวถึงก่อน

🔶 การทิ้งน้ำมันเมื่อตัดสินใจ Divert ไปลงจอด ไม่จำเป็นต้องทำในทุกกรณี -> ในเครื่องบินหลายรุ่น เช่น รุ่นที่หญิงขับ ก็ไม่ได้ติดตั้งระบบทิ้งน้ำมัน (เพราะมันไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเครื่องบินทุกลำ)

+ การอธิบายว่าทำไมการทิ้งน้ำมันไม่ใช่เรื่องจำเป็นจนถึงขั้นบริษัทผลิตเครื่องบินไม่ติดตั้งระบบทิ้งน้ำมันเอาไว้ในเครื่องบินหลายรุ่น... ต้องเริ่มต้นที่การอธิบายว่า "ทำไมต้องทิ้งน้ำมัน? และต้องทิ้งเมื่อไหร่?"

2.1- เครื่องบินทุกรุ่นได้มีการคำนวณน้ำหนักสูงสุดในการ Take-off และ Landing อยู่แล้วเรียกว่า
- Maximum Take-off weight (MTOW) และ
- Maximum Landing weight (MLW) ตามลำดับ
การทิ้งน้ำมันทำเพื่อ...ไม่ให้น้ำหนักรวมของเครื่องบินตอน Landing เกิน MLW

2.2- ทำไมระบบทิ้งน้ำมันไม่ได้ติดตั้งในเครื่องบินทุกลำ?
ก่อนอื่นทุกคนลองนึกภาพการเจาะรูขวดน้ำดื่มเพื่อปล่อยให้น้ำในขวดไหลออกมานะคะ
ลองนึกดูว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนกว่าที่น้ำข้างในขวดถึงจะออกมาหมด ค่ะ... การทิ้งน้ำมันเครื่องบินก็เช่นกัน มันต้องใช้เวลา นั่นหมายความว่า...
- ระบบ fuel dumping / fuel jettison นี้ จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อตัดสินใจที่จะกลับไปลงจอดในขณะที่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกบีบคั้นด้วยเวลา ไม่จำเป็นต้องรีบลงจอดโดยเร็วนัก (อย่างในข่าวนี้จากข้อมูลเบื้องต้น คาดการณ์คร่าว ๆ ว่าอาจจะเกิดอะไรบางอย่างขึ้นตอนเวลา 11.46 แล้วลงจอดเรียบร้อยในเวลา 13.00 (ดังรูป 3)-> ซึ่งใช้เวลาอยู่ชั่วโมงกว่าเลยทีเดียว)

- ในกรณีที่จะต้องรีบลงจอดจริง ๆ มีวิธีการลงจอดที่เรียกว่า Overweight landing คือลงจอดในตอนที่น้ำหนักเครื่องบินมากกว่า MLW
ถ้ามีใครสงสัยว่า Overweight landing มันจะดีเหรอ? คำตอบคือ Overweight landing เป็นวิธีการ Landing แบบหนึ่งที่มีมาตรการเพิ่มเติมรองรับ ถ้านักบินตัดสินใจเช่นนี้แล้ว นั่นหมายความว่าสถานการณ์ตอนนั้นการลงจอดในขณะที่น้ำหนักมากกว่า MLS มันดีกว่าการชักช้าเสียเวลาเพื่อลดน้ำหนักเครื่องบินลง(ด้วยการทิ้งน้ำมัน)แล้ว แต่...นี่ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ว่าทำไมเครื่องบินบางรุ่นไม่ติดตั้งระบบทิ้งน้ำมัน!

2.3- สาเหตุอยู่ที่น้ำมัน คำตอบก็อยู่ที่น้ำมัน
ในการบินแต่ละครั้งนักบินต้องคำนวณจำนวนน้ำมันที่ต้องเติมซึ่งมันก็ตรงตัวว่า "ถ้าเป็นเที่ยวบินที่บินนานมากก็ต้องใช้น้ำมันมาก" -> น้ำมัน = น้ำหนัก -> เติมน้ำมันมาก = เติมน้ำหนักเครื่องบินมาก -> หลังจากที่ทำการบินไปน้ำมันก็จะลดลงเรื่อย ๆ -> พอน้ำมันลดลงน้ำหนักรวมของเครื่องบินก็จะเบาขึ้น ยิ่งบินน้ำหนักยิ่งเบา

- ฉะนั้น... ถ้ามีช่วงไหนที่ fuel jettison จะถูกนำมาใช้งาน ก็จะช่วงที่เพิ่ง take-off ขึ้นมาใหม่ ๆ ตลอดจนช่วงเวลาหลังจากนั้นจนกว่าน้ำมันถูกใช้ไปจนน้ำหนักของเครื่องบินเหลือไม่เกิน MLW -> ความเหมาะสมในการติดตั้งระบบทิ้งน้ำมันจึงมักอยู่ในเครื่องบินพิสัยไกลเช่นในเที่ยวบิน Singapore airlines 317 ดังข่าวที่ทำการบินด้วยเครื่องบินรุ่น Airbus 380 บินจาก London มายัง Singapore ที่ใช้เวลาบินประมาณ 13ชั่วโมง

- และในกรณีนี้อาจจะเป็นคำตอบได้ด้วยว่า ทำไมเที่ยวบินพาณิชย์ต้องคำนวณการเติมน้ำมันทุกเที่ยวบิน ทำไมไม่เติมน้ำมันให้เต็มถังในทุก ๆ ครั้ง -> คำตอบเกี่ยวข้องกับทั้ง MTOW ที่ถ้าเติมน้ำมันมากจนน้ำหนักเครื่องบินเกินค่านี้ เครื่องบินก็ทำการ take-off บินขึ้นจากสนามบินต้นทางไม่ได้ และหากเกิดความจำเป็นต้องรีบกลับมาลงจอดหลัง take-off มาได้ไม่นาน (จนน้ำหนักเครื่องบินเกินค่า MLW) ก็จะเพิ่มความเสี่ยงไปโดยไม่จำเป็น -> จึงจำเป็นต้องคำนวณปริมาณการเติมน้ำมันอยู่ทุกครั้ง <- ไม่ใช่ไม่เติมเต็มถังเพื่อประหยัดเงิน (และในทางตรงกันข้าม บางครั้งการเติมเยอะก็ยิ่งประหยัด ไว้ถ้ามีโอกาสจะเล่าให้ฟัง)

- สำหรับเครื่องบินรุ่นที่หญิงขับซึ่งเป็นเครื่องบินพิสัยกลาง กรณีเกิดเหตุจำเป็นต้อง divert แล้วคำนวณน้ำหนักตอนลงจอดแล้วพบว่า น้ำหนักตอนนั้นจะเกิน MLW ก็จะมีโอกาสที่น้ำหนักส่วนเกินที่ต้อง*จัดการนั้นไม่มากเท่าเครื่องบินพิสัยไกล ซึ่ง*วิธีจัดการกับมันก็ยังมีหลายวิธีที่ไม่ต้องใช้ fuel dumping เพราะย้อนกลับไปที่วงเล็บล่าสุด (การทำงานของ fuel damping / fuel jettison นี้ใช้เวลานาน) ทำให้ระบบทิ้งน้ำมันหรือการทิ้งน้ำมันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับเครื่องบินทุกลำ
.
.
กลับมาที่เรื่อง หน้ากากออกซิเจน
🔷 1. เหตุผลที่ต้องมีหน้ากากออกซิเจนสำรองไว้ก็เพราะ
1.1- ที่เพดานบินสูงๆ (สูงกว่า 10000ฟุต) แรงดันอากาศและอากาศจะลดน้อยลงเรื่อยๆ -> เครื่องบินที่บินเกินความสูงนี้จึงต้องปรับแรงดันในห้องโดยสาร (cabin pressurization) ให้ไม่สูงกว่า 10000ฟุต (ในทางปฏิบัติจริง ๆ นักบินจะปรับให้ความดันในห้องโดยสารเทียบเท่าอากาศที่ความสูงไม่เกิน 8000ฟุต ต่อให้ขณะนั้นเครื่องบินจะบินอยู่ที่ความสูงมากถึงสามหมื่นหรือสี่หมื่นกว่าฟุตก็ตาม)
1.2- แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ระบบปรับความดันนี้เกิดเป็นอะไรขึ้นมาแล้วไม่มีการทำอะไรเลย -> ปริมาณอากาศและแรงดันในขณะนั้นจะมีไม่มากพอสำหรับการหายใจตามปกติ ทำให้เกิด hypoxia หมดสติได้ -> จึงมีการสำรองหน้ากากออกซิเจนเอาไว้ใช้ในกรณีนี้ <- นี่คือที่มาที่ไปว่าทำไมเครื่องบินโดยสารส่วนใหญ่ต้องมีหน้ากากออกซิเจน (และเครื่องบินบางลำ(ที่บินไม่เกินหนึ่งหมื่นฟุตไม่มี)) แต่แค่นั้นยังไม่พอ ! แค่หน้ากากออกซิเจนเท่านั้นยังไม่พอ !

1.3- อย่าลืมนะคะว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่ "ยิ่งสูงอากาศยิ่งเบาบาง" และหน้ากากออกซิเจนสำหรับผู้โดยสารออกแบบมาให้ใช้งานแค่ประมาณ 15นาที (แต่ของนักบินที่เป็นหน้ากากออกซิเจนอีกแบบ จะสามารถใช้งานได้นานกว่านี้) การปล่อยหน้ากากออกซิเจนลงมาเฉยๆที่ระดับเพดานบินเท่าเดิมเสมือนการโยนออกซิเจนให้คนที่จมน้ำแล้วยังทิ้งให้เขาให้จมอยู่ที่ระดับเดิม

1.4- สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นจึงเป็นการที่นักบินจะรีบลดเพดานบินให้ไปถึงระดับความสูง*ที่ทุกคนสามารถหายใจได้ตามปกติโดยไม่ต้องพึ่งทั้งระบบปรับความดันและหน้ากากออกซิเจน -> ซึ่ง*ระดับความสูงที่ว่านั้นคือประมาณ 10000ฟุต นี่เป็นที่มาของรูปที่ 3 <- ถ้าเป็นในซีรีส์/หนัง/ละคร การรีบลดเพดานบินลงหลังปล่อยหน้ากากออกซิเจนนี้จะเร้าอารมณ์คนดูมาก หลายคนจะหัวใจเต้นตึกตักแต่ถ้าหญิงอยู่ในสถานการณ์ หญิงจะเฉยๆกับซีนนี้ ถ้าจะตกใจหญิงจะตกใจในกรณีที่หน้ากากออกซิเจนปล่อยลงมาแล้วเครื่องบินยังไม่ลดเพดานบินลงมามากกว่า ฉะนั้น... สมมตินะคะสมมติ สมมติว่าเรื่องสมมตินี้เป็นจริง สมมติว่าคุณผู้อ่านเจอสถานการณ์ที่หน้ากากออกซิเจนปล่อยลงมาตอนเครื่องบินบินอยู่ที่สูง ๆ แล้วมองออกไปข้างนอกแล้วพบว่าความสูงของเครื่องบินไม่ได้ลดลง แบบนี้ขอแนะนำให้แจ้งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อให้ทางแอร์โฮสเตส/สจ๊วตประสานงานกับนักบินต่อไป รีบแจ้งได้เลยนะคะไม่ต้องเขินอาย ถ้ายังไม่กล้าบอกว่าหญิงบอกไว้ก็ได้ค่ะ 😁

1.5- แล้วหลังจากนั้น เมื่อเครื่องบินลดความสูงมาอยู่ที่ไม่เกิน 10000ฟุต ผู้โดยสารทุกคนก็ถอดหน้ากากออกซิเจนออกได้ (เฮ้ยลืมไป! ไม่ใช่แค่ถอดออกได้ค่ะ แต่ต้องถอดเลยแหละเพราะระบบหน้ากากออกซิเจนออกแบบมาแบบนี้) แล้วหายใจตามปกติ ตอนนี้ทุกอย่างปกติแล้ว -> ทำไมปกติ?... เพราะหน้ากากออกซิเจนปล่อยลงมาด้วยเรื่องของอากาศ ณ ที่สูง เมื่อตอนนี้อยู่ในที่สูงที่สามารถหายใจได้เองแล้วก็เท่ากับว่าทุกอย่างปกติไม่มีอะไรให้ต้องกังวล -> และใช่ค่ะ... ถ้าหลังจากนั้นเครื่องบินยังไม่ได้ลงจอดคือไม่ต้องตกใจไม่ต้องบอกแอร์โฮสเตส/สจ๊วตก็ได้ (หากกังวลก็สอบถามดูเป็นข้อมูลได้ แต่โดยทั่วไปถ้าเกิดสถานการณ์แบบนี้จริงเมื่อไหร่ก็ตามที่นักบินจัดการงาน(ที่ตอนนั้นค่อนข้างจะวุ่นวายปานกลางถึงมากที่สุด)ได้ และพอจะรู้กำหนดการลงจอด(ใหม่)แล้ว นักบินจะแจ้งพนักงานต้อนรับฯกับผู้โดยสาร) การยังคงบินอยู่โดยไม่รีบลงจอดหลังลดเพดานบินลงมามันปกติเช่นในเที่ยวบินนี้...

1.6+ สังเกตเส้นสีฟ้าใน Flightradar24 รูป 3 ด้านล่าง
เที่ยวบินนี้หลังจากที่ (คาดว่า) มีข้อขัดข้องบางอย่างที่ความสูงประมาณ 33000 ฟุต ในเวลาประมาณ 11:46 นักบินก็รีบลดความสูงมาที่ 10000ฟุต แล้วรักษาเพดานบินไว้ที่ความสูงหนึ่งหมื่นฟุตนี้อีกนานเกือบชั่วโมง(อาจจะเพื่อการทิ้งน้ำมันอยู่ระยะหนึ่งในช่วงเส้นสีฟ้าที่ลากยาว) ก่อนจะลดเพดานบินลงอีกครั้งแล้วลงจอดที่สนามบิน Frankfurt -> ข้อ 1.1 - 1.5 เกริ่นมาเพื่ออธิบายว่าทำไมต้อง 10000ฟุต?

1.7+ ทีนี้ในรูปที่ 2
ข้อความ "no oxygen masks were deployed during the flight" หมายความว่าอะไร?
- ความหมายในทางภาษาคือเที่ยวบินนี้ไม่ได้ปล่อยหน้ากากออกซิเจนลงมา
- ความหมายในทางเทคนิคคืออาจบ่งชี้ว่า 'a cabin pressurisation issue**' ที่กล่าวไว้ในบรรทัดบนอาจไม่ได้หมายถึงเครื่องบินไม่สามารถปรับแรงดันห้องโดยสารได้

**issue ที่เกิดขึ้น (ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเกิดปัญหาอะไร) อาจเป็นเพียงปัญหาอื่น เช่น ระบบ monitor ที่ติดตั้งเอาไว้เพื่อตรวจจับการทำงานของระบบปรับความดันในเรื่องร่าง ๆ (ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก) แจ้งเตือนขึ้นมาขณะที่ยังไม่ได้มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นเลย <- คือเครื่องบินจะออกแบบมาให้แจ้งเตือนก่อนค่ะ น้องจะเหมือนกับลูกช่างฟ้องที่มีอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ฟ้อง ยังไม่มีปัญหาก็ฟ้อง อะไรประมาณนี้

ที่มาข่าว
https://www.channelnewsasia.com/singapore/singapore-airlines-sia-flight-london-singapore-diverted-frankfurt-sq317-cabin-pressure-technical-issue-3099256

ลิ้งก์สำรองโพสต์นี้
http://www.airlinepilotstory.com/2022/11/blog-post.html