Labels

1คุณสมบัตินักบิน 2สอบนักบิน a380 ATPL Checklist DDM Divert Emirates ILS LOC LowVisibility Multitasking Priority SingaporeAirlines Skill STAR TakeOff Twitter กพ กสพท การทำงาน การทำงานนักบิน การเรียน การศึกษา การสอบ ข้อสอบ ข้อสอบความถนัด ข่าว ขึ้นเครื่องบิน ความถนัด ความรู้การบิน ความรู้นักบิน เครื่องบิน จากเม็ดยาสู่ฟ้ากว้าง จิตวิทยา เชาว์ เตรียมสอบ แถลงการณ์ ทหาร ทหารบก ทันตแพทย์ เทคนิค เที่ยวบิน นักบิน นักบินทหารบก นักบินอาชีพ แนะนำเกม ประสบการณ์ ปริญญาตรี ผู้โดยสาร ฝึกIQ พัฒนาตัวเอง แพทย์ เภสัช เภสัชกร เรื่องเล่า ลับสมอง วัดIQ สนามบินดอนเมือง สมาคมนักบินไทย สอบนักบิน สัมภาษณ์นักบิน สายการบิน สายการบินต่างชาติ เส้นทางชีวิต เส้นทางอาชีพนักบิน เหตุการณ์ แอร์โฮสเตส

Friday, October 27, 2023

ถ้าเป็นนักบินไม่ได้... จะเป็นอะไร ที่บ้านรวยไหม? | คำถามนี้มีอะไร? #1

 คำถามนี้มีอะไร #1 ถ้าเป็นนักบินไม่ได้... จะเป็นอะไร ที่บ้านรวยไหม?

สำหรับผู้มาอ่านบทความนี้เพราะอยากเป็นนักบิน 

ก่อนทำการอ่านต่อไปอันดับแรกขอแนะนำให้ "ทุกคน" ...

  1. เตรียมสมุด 1 เล่มไว้สำหรับการจด 'บันทึกการเดินทาง' ในการเตรียมสอบของตัวเอง
  2. เขียนคำถาม #1 ถ้าไม่เป็นนักบิน... จะทำงานอะไร ที่บ้านรวยไหม? นี้ลงไป
  3. เขียนความรู้สึก(ทั้งหมด)ที่เกิดขึ้นตอนเห็นคำถามนี้เป็นครั้งแรก  เช่น
    1. ไม่เข้าใจว่าถามอะไรเนี่ย
    2. บ้าไปแล้ว
    3. ถ้าไม่รวยเป็นนักบินไม่ได้เหรอ
    4. ไม่มีทาง ฉันต้องเป็นนักบินเท่านั้น
  4. เขียนคำตอบของคำถามที่นึกขึ้นได้ลงไป
  5. ลง วัน/เดือน/ปี เป็นบันทึกการเดินทางเอาไว้ดูความคิดและความรู้สึกของตัวเองว่ามันเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนไปเมื่อเวลาและประสบการณ์ของตัวเองเปลี่ยนไป
เพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกคน ถ้าใครเชื่อฉัน... ฉันขอแนะนำให้ทุกคนทำตามขั้นตอนที่แนะนำไป แต่ถ้าใครไม่ทำ... ก็ไม่เป็นไร ในโลกใบนี้มันไม่มีอะไรดีกับทุกคน

+ คำถามนี้มีอยู่จริงในการสอบสัมภาษณ์นักบิน(ทุนสายการบิน) ตัวฉันเองไม่ได้เจอกับคำถามนี้แต่เพื่อน ๆ หลายคนพบเจอจริงๆ
- ในการสัมภาษณ์ สิ่งสำคัญไม่ใช่คำตอบของคำถาม กัปตันที่มาสัมภาษณ์เราไม่ได้สนใจคำตอบแต่สนใจในวิธีคิด
- นอกจากนั้น การ Start with why หรือลองตอบคำถามต่าง ๆ ไม่ได้มีประโยชน์หรือฉันแนะนำให้ลองทำเพื่อเตรียมไปสอบสัมภาษณ์เท่านั้น แต่มันยังสำคัญในขั้นตอนของการ "วางแผนชีวิต" และใช่แล้ว... สิ่งสำคัญของคำถามนี้คือ
  • การวางแผน
  • การจัดลำดับความสำคัญ
- ที่บอกไปว่า 'สิ่งสำคัญไม่ใช่คำตอบของคำถาม' เพราะการตั้งคำถามที่เจาะลึกลงไปมันไม่ได้จบแค่คำถามแรก แต่มันเป็นการถามลงไปในคำถามนั้นซ้ำ ๆ หลายต่อหลายครั้ง เช่น

ตัวอย่างที่ 1
1- กัปตัน / ถ้าเป็นนักบินไม่ได้... จะเป็นอะไร
1- นาย ก / ไม่ครับ ผมต้องเป็นนักบินให้ได้
2- กัปตัน / อะไรทำให้มั่นใจแบบนั้น
2- นาย ก / ผมมั่นใจว่าตัวเองมีคุณสมบัติของการเป็นนักบินครบครับ
3- กัปตัน / แล้วคุณสมบัติของการเป็นนักบินคืออะไรล่ะ?
3- นาย ก / การตัดสินใจที่ดีครับ
4- กัปตัน / แล้วการตัดสินใจที่ดี คืออะไรล่ะ?
4- นาย ก / ตัดสินใจได้ถูกต้องและรวดเร็วครับ
5- กัปตัน / แน่ใจเหรอว่าคุณคิดถูก ถ้าผมไม่เห็นด้วยกับคุณล่ะ? 
5- นาย ก / ...

ตัวอย่างที่ 2 กรณีจริงที่เพื่อนฉันพบเจอ(เฉพาะคำถามแรก)
1- กัปตัน / ถ้าเป็นนักบินแล้วได้เงินเดือนเท่าอัตราขั้นต่ำ ยังจะอยากเป็นไหม?
1- นาย ข / อยากครับ
2- กัปตัน / แน่ใจนะ เพราะถ้าคุณโอเคเราจะมีแบบฟอร์มให้คุณกรอกเลย
2- นาย ข / แน่ใจครับ ผมมีเงินเก็บและมี passive income ทุกเดือนเพียงพออยู่แล้ว
3- กัปตัน / เหรอ? มีเงินเท่าไหร่และยังไงล่ะ?
3- นาย ข / เงินเก็บตอนนี้มีประมาณ 10ล้านบาท และมี passive income จากปันผลหุ้นอีกประมาณเดือนละเจ็ดหมื่นบาทครับ
4- กัปตัน / ทำยังไงถึงมีเงินเก็บ 10ล้านบาท?
4- นาย ข / ผมเริ่มฝึกลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตอนเป็นนักศึกษา พอเรียนจบที่บ้านก็ให้เงินทุนมาเริ่มต้น 5 ล้านบาท ผมก็ต่อยอดมาจนเป็น 10ล้านบาทครับ
5- กัปตัน / แล้วถ้ามีความเสี่ยงขึ้นมาล่ะ ตลาดนี้ความเสี่ยงสูงมากนะ? แล้วถ้าที่บ้านไม่มีเงินทุนเริ่มต้นมาให้คุณจะทำยังไง?
5- นาย ข / ...

ตัวอย่างที่ 3 
1- กัปตัน / ถ้าเป็นนักบินไม่ได้... จะเป็นอะไร?
1- นาย ค / คงจะเป็นวิศวะตามที่เรียนจบมาครับ
2- กัปตัน / เหรอ? แล้วหางานวิศวะทำรึยังล่ะ?
2- นาย ค / ไม่เลยครับ ผมตั้งใจจะเป็นนักบินให้ได้
3- กัปตัน / แล้วถ้าผมบอกว่าคนอย่างคุณเป็นนักบินไม่ได้ล่ะ?
3- นาย ค / เอ่อ... ทำไมเหรอครับ
4- กัปตัน / เฮ้ย ตอบคำถามด้วยการถามคำถามมันเสียมารยาทนะคุณ?
4- นาย ค / ผมขอโทษครับ คือ... ผมอยากเป็นนักบินจริง ๆ ครับ
5- กัปตัน / ไอ้อยากน่ะใคร ๆ ก็อยากได้ เด็กอนุบาลอยากเป็นนักบินก็มีแยอะแยะใช่ไหมล่ะ?
5- นาย ค / ...

+ จาก 3 ตัวอย่างข้างต้น ทุกคนพอจะนึกภาพอะไรออกไหม?
- สิ่งสำคัญของคำถามทั้งหมดนี้
  • ไม่ได้สอบถามเพื่อดูปัจจุบันหรืออนาคตเป็นสำคัญ 
  • แต่เป็นการดู"อดีต"ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
    • ซึ่งมันพอจะช่วยสะท้อนให้รู้ว่าผู้ถูกถามมี "ความคิด" และ "การกระทำ" ในอดีตอย่างไร
- ที่ฉันบอกว่า "ถ้าใครได้ลองตอบคำถามต่าง ๆ เหล่านี้คนคนนั้นจะไม่ได้ประโยชน์แค่เพื่อเตรียมไปสอบสัมภาษณ์เท่านั้น" นั่นหมายความว่า
-- คำพูด ไม่ได้สำคัญเท่าการกระทำหรือพฤติกรรม
-- สิ่งที่นำไปตอบหรือแสดงในห้องสัมภาษณ์หลายอย่างมันต้องใช้เวลาสั่งสมและเริ่มดำเนินการไปก่อน
-- ประโยชน์ของการ Start with why ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เราเผชิญกับคำถาม แต่มันเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการเดินทาง มันมีประโยชน์ในการวางแผน มันมีประโยชน์ในการวางกลยุทธ มันมีประโยชน์ในการออกเดินทาง... เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายนั้น
-- Start with why + SMART goals เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก
+ ที่ผ่านมา... แทบจะทุกครั้งที่มีผู้เข้ามาสอบถามเพื่อขอคำปรึกษาในการเตรียมสอบนักบิน ฉันจึงมักจะเริ่มต้นด้วยคำถามนี้เสมอ
- อนึ่ง เพื่อจะบอกว่า "การวางแผนและการจัดลำดับความสำคัญ" มันเป็นทักษะสำคัญอันดับต้น ๆ ในอาชีพนักบิน
- และการวางแผนและจัดลำดับความสำคัญก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้และควรทำตั้งแต่ที่ทุกคนมีความคิดว่าอยาก(เตรียมสอบ)เป็นนักบิน

- สิ่งมีชีวิตอื่นมีชีวิตในแต่ละวันเพื่อการหาอาหารมาประทังชีวิต คนเราก็ต้องทำเช่นนั้น... เราทุกคนต้องมีงานทำหรือมีครอบครัวสนับสนุนการเงินเพื่อให้เราดำรงชีพอยู่ได้ 
-- นี่เป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิต
-- ทุกคนลองทำตามที่แนะนำไปนะ.. ตอบคำถามนี้กับตัวเองแล้วจดบันทึกไว้
-- หากคิดอะไรขึ้นได้ในขณะหรือหลังจากที่ตอบคำถามก็ลงมือทำได้ตั้งแต่ตอนนี้
แล้วกลับมาพบกับ "ซีรีย์ คำถามนี้มีอะไร?" ซีรีย์ที่จะแนะนำชุดคำถามให้ทุกคนลองตอบเพื่อการเดินทางจากจุดปัจจุบันที่กำลังเป็น, มายังเส้นทางนักบิน คำถามต่อไป... จนกว่าจะพบกันใหม่