Labels

1คุณสมบัตินักบิน 2สอบนักบิน ATPL Checklist DDM Divert Emirates ILS LOC LowVisibility Multitasking Priority STAR SingaporeAirlines Skill TakeOff Twitter a380 กพ กสพท การทำงาน การทำงานนักบิน การศึกษา การสอบ การเรียน ขึ้นเครื่องบิน ข่าว ข้อสอบ ข้อสอบความถนัด ความถนัด ความรู้การบิน ความรู้นักบิน จากเม็ดยาสู่ฟ้ากว้าง จิตวิทยา ทหาร ทหารบก ทันตแพทย์ นักบิน นักบินทหารบก นักบินอาชีพ ประสบการณ์ ปริญญาตรี ผู้โดยสาร ฝึกIQ พัฒนาตัวเอง ลับสมอง วัดIQ สนามบินดอนเมือง สมาคมนักบินไทย สอบนักบิน สัมภาษณ์นักบิน สายการบิน สายการบินต่างชาติ เครื่องบิน เชาว์ เตรียมสอบ เทคนิค เที่ยวบิน เภสัช เภสัชกร เรื่องเล่า เส้นทางชีวิต เส้นทางอาชีพนักบิน เหตุการณ์ แถลงการณ์ แนะนำเกม แพทย์ แอร์โฮสเตส

Thursday, September 7, 2023

อาชีพนักบินกับสายตา I version. UPDATE I จบครบที่หลายคนชอบถาม

 เรื่อง #อาชีพนักบินกับสายตา

scope ข้อมูล
บทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องสายตากับอาชีพนักบินที่...
🔷เจาะจงส่วนงานนักบินสายการบิน โดยเฉพาะการสอบเข้าแบบนักบินทุนสายการบิน
📌ไม่ได้กล่าวถึงนักบินทั้งหมด
.
ทำความเข้าใจกันก่อน
🔷#ก่อนการฝึกบิน หรือเรียนหลักสูตรนักบินต่างๆ เพื่อขอใบอนุญาต/licence นักบิน
+ ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจร่างกาย สอบ IQ และจิตวิทยาการบินที่รวมเรียกว่า Medical class ... ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก "ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง มาตรฐานในการออกใบสำคัญแพทย์แต่ละชั้น" ฉบับล่าสุดประกาศเมื่อ พ.ศ. 2561 โดยที่
a-- นักบินพาณิชย์ ใช้เกณฑ์ Medical class 1📌
b-- *นักบินส่วนตัว ใช้เกณฑ์ Medical class 2
.
👉เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารถึงคำว่า
- "นักบินพาณิชย์"
- "นักบินส่วนตัว"
-- "เครื่องบินพาณิชย์"
-- "เครื่องบินส่วนตัว"
ซึ่งที่ผ่านมามีหลายคนสับสนใน 4 ส่วนนี้ (บางคนก็ติหญิงด้วยแหละว่าหญิงให้ข้อมูลที่ทำให้น้องๆ เข้าใจผิดได้)
b.1--- *นักบินส่วนตัว เหมือนผู้ถือใบอนุญาตขับขี่รถส่วนตัว(ขับขี่ให้กับตัวเอง, ด้วยเครื่องบินที่จำกัด เช่น เครื่องบินเล็กขนาดไม่เกิน... kg(ที่ใส่ จุดจุดจุด เพราะหญิงจำตัวเลยไม่ได้ ใครสนใจข้อมูลสามารถใช้คำค้น aircraft limitations for a private pilot), ต้องขับขี่ตามศักย์การบินที่มี เช่น หากมีแค่ Private Pilot Licence (PPL) ก็ต้องบินในสภาพอากาศดีหรือฟ้าเปิดในแบบที่เรียกว่า Visual Flight Rules - VFR ซึ่งเป็นการบินโดยมองพื้นดิน/พื้นน้ำเป็นจุดสังเกต) ไม่ใช่ขับเครื่องบินส่วนตัวลำใหญ่ที่ใช้กฎการบินอีกแบบ เป็นต้น
a.1--- การขับเครื่องบินส่วนตัว(ให้คนอื่นนั่ง แบบได้เงินค่าจ้าง) คล้ายการขับรถขนส่งสาธารณะที่ต้องใช้ใบอนุญาตอีกแบบ (และผ่านการฝึกแตกต่างกัน) กรณีนี้ต้องใช้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot Licence(CPL) เป็นต้นไป) ซึ่งการเป็นนักบินพาณิชย์ในกรณีนี้ใช้เกณฑ์ตรวจของ #MedicalClass1
!--- ทั้งนี้ ประเด็นเรื่อง license เป็นกล่าวถึง scope ของนักบินส่วนพลเรือนเท่านั้น ไม่นับรวมนักบินกองทัพบก/เรือ/อากาศ/ตำรวจ ที่เป็นการทำงานในลักษณะที่ขับเครื่องบินได้เงินเหมือนกันแต่บางลักษณะงานไม่ได้ใช้ใบอนุญาต CPL
!--- การทำงานของนักบินแต่ละครั้งต้องมีเอกสารสำคัญประจำตัวหลายฉบับ ก) ใบอนุญาตนักบิน (PPL/ CPL/ ATPL) กับ ข) ใบสำคัญแพทย์ (Medical Certificate) เป็นเพียง 2 ในเอกสารจำนวนหลายฉบับที่จะต้องมีเท่านั้น
.
📌step เรื่องเอกสารในเส้นทางนักบินจึงเริ่มต้นที่
1. Medical class ... 🔶
2. Licence (PPL / CPL / ATPL)
3. อื่นๆ
.
🔶ว่าด้วย ใบสำคัญแพทย์
- เกณฑ์ Medical class 1 และ class 2 แตกต่างกัน
- หญิงอยู่ในส่วนพาณิชย์ไม่รู้ข้อมูลของ class 2 จึงต้อง scope ข้อมูลให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อน
.
👉ต่อมา... เจาะลึกไปยังเกณฑ์ Medical class 1
+ นักบินพาณิชย์ มีหลายภาคส่วน
- บางที่ใช้เกณฑ์กลางของ Medical class 1
- บางที่ใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่า Medical class 1
-- ที่ผ่านมาการสอบนักบินทุนสายการบินใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่า Medical class 1
---For your information -> เกณฑ์สายตาใน "มาตรฐานการออกใบสำคัญแพทย์แต่ละชั้น" version ปัจจุบัน พ.ศ. 2561 มีการปรับเปลี่ยนจากอดีต หญิงสอบ SP และเป็นนักบินก่อนปี 2561
- หญิงอยู่ในส่วนพาณิชย์ที่เข้าสายการบินแบบนี้ จึงต้อง scope ข้อมูลให้ชัดเจน(อีกเช่นเคย)เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า #หญิงกล่าวถึงส่วนนี้เท่านั้น น๊าาา
.
🔶เจาะลึกคุณสมบัติ(เกี่ยวกับสายตา)ในการสอบนักบินทุนสายการบิน(แบบ a))
(สายการบินรับนักบิน 3 แบบคร่าว ๆ
a) student pilot บุคคลทั่วไป
b) qualified pilot (200) บุคคลที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เป็นต้นไปที่ยังไม่มี type rating เฉพาะเครื่อง
c) qualified pilot + type rating)

-----Disclaimer -----
#ในอดีต การสอบ a) นักบินทุนสายการบิน ใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าเกณฑ์กลาง สิ่งที่หญิงจะกล่าวถึงจึงอ้างอิงข้อมูลที่ผ่านมา ไม่ได้การันตีถึงอนาคต โปรดใช้จักรยานในการปั่นเพื่อสุขภาพ เอ้ย! ก็วิจารณญาณนั่นแหละ 🥰
👉+ #ที่ผ่านมา สายการบินที่เปิดสอบ a) นักบินทุนสายการบิน (โดยเฉพาะในรุ่นที่หญิงสอบ) มีไม่กี่สายการบิน
- บางสายการบินที่เปิดสอบ SP ได้แจ้งข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า ผู้สมัครจะต้อง...
👉-- สายตาสั้น/ยาวไม่เกิน 300 หรือ ไม่เกิน +/-3.00 ไดออปเตอร์ -> ใส่แว่นได้
👉-- ถ้าใครเคยทำอะไรเกี่ยวกับตา (ผ่าตัด/เลเซอร์) ค่าสายตาก่อนการผ่าตัดก็ห้ามเกิน +/- 3.00 ไดออปเตอร์ เหมือนกัน และต้องทำอะไรเหล่านั้นก่อนการสอบประมาณ 1 ปี เนื่องจาก...
👉--- #อาชีพนักบินซีเรียสเรื่องผ่าตัด -> อันนี้เป็นเกณฑ์กลางของทาง Medical class 1 ว่าหากใครไปทำอะไรมา(ต่อให้เป็นนักบินแล้ว)ก็จะต้องหยุดบินระยะเวลาหนึ่ง (ดูรายละเอียดส่วนนี้เพิ่มเติมได้ในรูปที่ 4) <- ซึ่งเกณฑ์กลางนี้เป็นสิ่งที่ตึงสุดแล้ว ต่อรองไม่ได้
👉-- กรณีสายตาก่อนทำเกิน 300 <- ถ้าใครจะทำก็ต้อง "ลุ้น" เอาเอง
- อย่างที่บอกว่า "มีแค่บางสายการบินที่แจ้งข้อมูลอย่างเป็นทางการว่าผู้สมัครต้องสายตาไม่เกิน +/- 3.00 ไดออปเตอร์" ...แต่ละสายการบินมีข้อกำหนดแตกต่างกันได้
👉-- การกำหนดคุณสมบัติ "สำหรับผู้เข้าสอบ" ก็สามารถแตกต่างจาก "ผู้ที่เป็นนักบินแล้วได้" การที่มีข้อกำหนดว่า "ตอนสมัครสอบสายตา +/- ไม่เกิน 3.00 ไดออปเตอร์" ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นตลอดไป การกลับไปตรวจ Medical class 1 ในครั้งต่อไปตามวงรอบโดยส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์กลางที่ประกาศในราชกิจจาฯ
.
🔶ตอบคำถามส่วนตัว #ทำไมหญิงใส่แว่น #ทำไมหญิงไม่ทำLasik_PRK_ICL
👉หญิงเพิ่งรู้จักการสอบนักบินตอนอายุ 27ปี
- ตอนนั้นมีสายการบินที่เปิดสอบ a) นักบินทุนสายการบิน ซึ่งรับผู้หญิงจำนวน 2 สายการบิน ซึ่งทั้งสองที่กำหนดคุณสมบัติเรื่องอายุไว้ที่ ไม่เกิน 28ปี
-- ถ้าหญิงทำอะไรกับสายตาตอนนั้น ก็จะหมดสิทธิ์สอบ a) SP กับทางสายการบินไปเลย หญิงจึงเลือกที่จะใส่แว่นต่อไป
-- ส่วนช่วงเวลาก่อนหน้านั้นมันก็ไม่มีอะไรมากค่ะ สั้นๆเลย หญิงไม่มีตังค์ไปทำอะไรกับตา 😂
.
🔶ผู้สมัครสอบ a) SP กับทางสายการบิน จะต้องตรวจตาเมื่อไหร่?
👉การสอบ SP ของแต่ละสายการบินจะมีหลายขั้นตอน (ที่แตกต่างกัน) โดยส่วนใหญ่จะมี
1) สอบข้อเขียน เพื่อคัดผู้สมัครจำนวนมาก (ปกติจะมีหลักพันคน) ให้เหลือหลักสิบหรือร้อยคน
2) สอบกับผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกัปตัน เพื่อคัดทั้งความสามารถและทัศนคติที่ตรงกับความต้องการของสายการบิน ให้เหลือหลักสิบคน
3) สอบพิเศษ เช่น ทดสอบความสามารถในการทำงานเป็นทีม / personality ให้เหลือหลักสิบคนอีกเช่นกัน (แต่ละครั้งที่เปิดสอบ สายการบินมีจำนวนคนที่ต้องการแตกต่างกัน)
-> (ขั้นตอนที่ 2) กับ 3) อาจจะสลับกันได้ และในบางขั้นตอนอาจจะมีการสอบมากกว่า 1 ครั้ง หรือมากกว่า 1 วัน)
📌-> ผู้ที่ผ่านการสอบ 3 ด่านแรกถึงจะได้ผ่านไปตรวจ 4) Medical class 1
--> และการตรวจทั้ง 3 อย่างดังที่กล่าวไปในตอนแรกคือ 4.1) ตรวจร่างกาย(รวมทั้งสายตา) 4.2) สอบ IQ และ 4.3) สอบจิตวิทยาการบิน จะเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้
-> และอย่างที่บอกค่ะ การสอบเข้าสายการบินแบบ a) SP นั้นแต่ละสายการบินสามารถกำหนดอะไรหลายๆ อย่างเพิ่มเติมขึ้นมาได้ บางสายการบินจึงมีการสอบ 4.4) ยิงเครื่องบิน* ขึ้นมาด้วย
+ การสอบ *4.4) ยิงเครื่องบิน เกิดขึ้นที่เวชศาสตร์การบิน รูปแบบของมันคือจะเป็นเกมที่ให้เราบังคับเครื่องบิน (หาแพทเทิร์นเอาเอง เช่น ถ้าเราขยับคันโยกซ้าย เครื่องบินจะไปทางขวา, ถ้าเราขยับคันโยกไปด้านบน เครื่องบินจะไปทางซ้าย, ...) ไปยิงเครื่องบินลำอื่นให้ได้ พอเรายิงได้จะมีคำถามโผล่ขึ้นมาให้เราตอบภายในเวลาประมาณ 10-15วินาที ตัวอย่างข้อสอบ เช่น ถ้าสมทรงมีน้องชื่อสมศรี สมศรีมีพ่อชื่อสมชาติ สมชาติมีหลานชื่อสมจิตร สมจิตรมีปู่ชื่อสมสุข สมทรงมีพี่น้องกี่คน?
📌โดยส่วนตัวเลยจึงมักแนะนำว่า "ใครที่มีเรื่องไม่แน่ใจเรื่องสายตา... ถ้าไม่ติดเรื่องอะไรก็ลองลงสนามสอบไปก่อน" ลงสนามจริงแล้วทำให้เต็มที่ เรื่องผลลัพธ์ค่อยไปดูหน้างานว่ามันจะเป็นยังไร หรืออย่างน้อยๆ ก็ไปสอบให้รู้ว่าตัวเองจะไปได้แค่ไหน หรือไปสอบให้ได้เห็น ได้เข้าใจอะไรในเส้นทางการสอบนักบินมากขึ้นก็ได้
.
🔶สำหรับการวางแผน #ในอนาคต
ไม่มีใครรู้ว่า "การกำหนดคุณสมบัติการสอบนักบินทุนสายการบินในอนาคต(ถ้ามี)จะเป็นอย่างไร"
👉 สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนเรื่อง "สายตา" โดยคำนึงถึงโอกาสในการสอบนักบิน SP ด้วย โดยส่วนตัวหญิงแล้ว...
- ถ้าไม่จำเป็น ไม่แนะนำให้ทำอะไรกับสายตาให้เกิดบาดแผล
-- เพราะอย่างที่บอก อาชีพนักบินซีเรียสเรื่องการผ่าตัด (หลายสายการบิน แม้แต่การรับสมัครนักบินแบบ c) ที่มี type rating หรือมีประสบการณ์ในการขับเครื่องบินสายการบินมาแล้ว ก็ต้องการการ declare เรื่องการผ่าตัด) เพราะสิ่งแวดล้อมในการทำงานบนฟ้าแตกต่างจากภาคพื้นดิน
- ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะทำ เลือกวิธีที่ทิ้งร่องรอยน้อยที่สุด มี side effect หรือ adverse effect น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ concern มากดังรายละเอียดในรูปที่ 3
- อนึ่ง สุขภาพตาของแต่ละคนเป็นเรื่องปัจเจกที่แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล
.
.
🔷ทำให้ทุกครั้งที่พูดเรื่องสายตา หญิงจะปิดท้ายเสมอว่า
+ #คำว่าสายตาดีไม่ได้ขึ้นกับการใส่หรือไม่ใส่แว่น มันขึ้นกับการให้คำนิยามและ perception ของแต่ละคน
- หลายกรณี คนใส่แว่นอาจจะสายตาดีกว่าคนไม่ใส่แว่นก็ได้
-- ในการตรวจ Medical class 1 หรือตรวจสุขภาพประจำปีของนักบินนั้น station ตรวจตาเป็นจุดที่ใช้เวลานานที่สุด ใช้เครื่องมือมากที่สุด (หากไม่ลืมหญิงจะนำรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะต้องตรวจหัวข้ออะไรบ้างมาแปะในคอมเม้นต์)
--- จะมีการตรวจสายตาละเอียดยิบที่มากกว่าสายตาสั้น/ยาว/เอียงหรือไม่
-- ใครสนใจในอาชีพนักบินแล้วตอนนี้สายตาไม่ได้สั้น/ยาว/เอียง ใช่ว่าจะวางใจได้นะว่าตนจะผ่านการตรวจในส่วนนี้ได้ลอยลำกว่าคนที่ใส่แว่น
.
.
ดูแลสุขกาย/ใจ และดวงตากันด้วยน๊าา
ด้วยรัก
❤️