เราเรียนรู้ตลอดชีวิต
แต่การเรียนที่ดี ไม่ใช่การอ่านถึก!
1. เริ่มต้นเลย แต่ไหนแต่ไรมาคือเราจำไม่เก่ง
ไม่สามารถเรียนแบบจดความรู้ 1,2,3,...ได้(ต่อให้จำได้อีกไม่นานก็ลืม)
เมื่อรู้ตัว เราก็เปลี่ยนเทคนิคไปเรื่อยๆ จนได้ผลที่การเริ่มต้นด้วยความอยากรู้อยากเห็น
คือก่อนจะเรียนอะไรเราจะตั้งคำถามว่าทำไมก่อนเลย ทำไมๆๆ ทำไมมันไปก่อน
(ถ้าให้ดีก็เก็บความสงสัยให้ไปถึงระดับหัวร้อนไปเลย)
จากนั้นก็ค่อยเริ่มอ่านเพื่อค้นหาคำตอบ
2. ในทางจิตวิทยา
การเริ่มต้นด้วยความอยากรู้อยากเห็นเป็นวิธีการที่เอาใจสมอง ที่เมื่อเราอยากรู้อะไรเสาสัญญาณเรื่องนั้น ๆ จะเปิดรับแล้วทำให้จำได้ง่าย ใช้ได้นาน
แต่สำหรับเราถ้าจะให้อธิบายง่าย ๆ มันเหมือน
- 2.1 การปลูกปะการัง หรือ
- 2.2 การวาดรูป และ
- 2.3 เกี่ยวข้องกับการออกแบบการจดจำ
2.1 การปลูกปะการัง ทำให้ปะการังมีที่ยึดเกาะ สามารถเกิดได้เร็วขึ้นกว่าวิธีโดยธรรมชาติที่มนุษย์ไม่ไปทำอะไรเลย,
การปลูกปะการังในการเรียน ก็เหมือนกับการมีอะไรให้ยึดเกาะความรู้เอาไว้ ซึ่งในแต่ละเนื้อหามันมีสิ่งที่ทำให้เราใช้มันเป็นแก่นให้เราเกาะกุมไว้สั้นๆ.หามันให้เจอแล้วจำแค่แก่นนั้น
2.2 การวาดรูป
เวลาวาดรูปคงมีน้อยคนนักที่จะแบ่งกระดาษออกเป็นส่วนๆ แล้ววาดภาพ+ระบายสี+ตัดเส้นให้เสร็จเป็นส่วนๆ แล้วค่อยขยับขยายไป ส่วนใหญ่เราจะวาดภาพให้เสร็จก่อน(โครง) แล้วค่อยระบายสีแล้วตัดเส้น, เปรียบเป็นการเรียนคือการวาดโครงก่อน ก็ไม่ต้องพยายามจำทุกอย่างให้ได้ 100%ตั้งแต่ในทีแรก
จาก 2.1, 2.2 นำมาสู่ 2.3
เวลาเรียนเราจะกำหนดเป้าหมายไล่จาก % ต่ำ ๆ เพื่อให้ได้โครงหรือแก่นของมันให้มีหลักยึดและรู้ความสัมพันธ์ก่อน จากนั้นก็ค่อยเก็บรายละเอียดเพิ่ม % ของเนื้อหาไป เช่น ครั้งแรกเอาแค่ 50% พอ จากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปเป็น 70%, 85%, 90%,... อะไรแบบนี้ 

To be continued ตอนที่ 2 -> อยากเรียนดี อย่าหาทำสิ่งนี้! http://www.airlinepilotstory.com/2022/07/ep2.html
สำรองโพสต์นี้ที่ Medium : เทคนิคการเรียนเภสัชกรและนักบิน ในแนวทางจิตวิทยาพัฒนาตัวเอง EP.1 - YingaaMashare - Medium